นายกเทศมนตรี
นายสว่าง ตาแสงร้อย
นายกเทศมนตรีตำบลแม่ฮ้อยเงิน
ช่องทางการติดต่อ
โทร. 087-357-9987
ข้อมูลตำบลแม่ฮ้อยเงิน
วัดแม่ฮ้อยเงิน
- 31 มกราคม 2564
- อ่าน 1,367 ครั้ง
วัดแม่ฮ้อยเงิน หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๒๐
(โทร.) ๐๕๓ ๘๔๐๕๗๒ สังกัดมหานิกาย
ที่ตั้ง หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
วัดแม่ฮ้อยเงิน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๗ หมู่ที่ ตำบลแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการแต่งตั้ง (หลักฐานหาย) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (หลักฐานหาย) มีเอกสารที่ดินเป็นโฉนดเลขที่ ๒๒๘๔๐ เล่มที่ ๒๒๙ ออก ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๓ มีเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่ ๓ งาน ๓๓ ตารางวา
เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่กว่าวัดอื่นๆ ในตำบลนี้ประวัติการสร้างนั้น ไม่มีลายลักษณ์อักษรจารึกไว้ หรือมีหลักฐานอื่นใด ที่พอจะสืบทราบได้ว่ามีการก่อสร้างขึ้นเมื่อใด แต่ตามที่สันนิษฐาน ดูแล้วลักษณะสถาปัตยกรรมละม้ายคล้าย ไปทางศิลปะพม่าเป็นส่วนใหญ่ และเพิ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะไปเป็นแบบไทยล้านนาประยุค และยังสร้างเป็นแบบศิลปะแบบพม่าอยู่ในช่วงหลังๆ มาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ อีกก็คือองค์พระธาตุ ที่ยังมีอิทธิพลของพม่า หลงเหลือมาปรากฏให้เห็นอยู่ถึงทุกวันนี้ และที่แล้วๆ มาก็เป็นการก่อสร้างเอกลักษณ์แบบเดิมมาให้มีการต่อเนื่องมาจนถึงที่สุด โดยเท่าที่ทราบสืบมาแม้แต่นายช่างที่ก่อสร้างก็ยังเป็นเชื้อสายทางพม่าอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แล้วจึงค่อยๆ มาเป็นนายช่างชาวพื้นเมือง และก็เป็นการเริ่มเปลี่ยนแปลงของเก่า ให้หมดสิ้นไปด้วยตนเอง ?วัดแม่ฮ้อยเงิน?ตามที่มีผู้เล่าสืบต่อกันมา ว่าได้สร้างขึ้นมาบนฝั่งแม่น้ำห้วยแม่โป่ง ตรงช่วงที่เรียกกันว่าท่าเดื่อด้วยมีต้นเดื่อขึ้นอยู่บนทางท่าน้ำนั้น และเข้าใจว่าคงจะมีผู้คนยกย้ายเข้ามาอยู่บนที่น้ำข้างต้นเดื่อนี้ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๐๖ ?๒๓๑๒ ซึ่งเป็นช่วงที่ทางการพม่าปกครองเชียงใหม่ อยู่ในเวลานั้นกำลังเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง กฎเกณฑ์วัฒนธรรมต่างๆ แบบล้านนา ให้เป็นแบบพม่าด้วยกำลังฮึกเหิมที่ สามารถถล่มทำลายกรุงศรีอยุธยาลงได้ใหม่ๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้นก็เลยถือโอกาสคิดบัญชีที่ตกค้างกับผู้คนชาวล้านนาที่ตกอยู่ใต้การปกครองของพม่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๐๑ แต่ทางกรุงอังวะพึ่งมารู้สึกตัว ว่าที่แท้ก็ได้แต่แผ่นดิน หาได้จิตใจผู้คนชาวล้านนาด้วยไม่ ด้วยยังมีการแบ่งแยกเรียกขานกันว่า ?เป็นคนม่าน (พม่า)? กับ ?คนเมือง? อยู่ตลอดเวลา กว่า ๒๐๐ ปีที่ผ่านไปนั้นดังนั้นทางกรุงอังวะจึงได้จัดขุนพลผู้เคร่งประเพณีคือโป่มะยุง่วน หรือ ชาวพื้นเมืองเรียกว่า โป่หัวขาว ด้วยที่มักจะใช้ผ้าสีขาวโพกหัวอยู่ตลอดเวลาเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๒ เมื่อโป่มะยุง่วนเข้ามาสู่เมืองแม่ของชาวล้านนาคือเมืองเชียงใหม่แล้ว ก็เริ่มตั้งกฎระเบียบการปกครองต่างๆ ให้ชาวพื้นเมืองทำตาม เช่น ให้ชายชาวพื้นเมืองทุกคนสักขาด้วยหมึกสีดำเหมือนกับชายชาวม่าน (พม่า) กระทำกัน ส่วนผู้หญิงก็ให้ขวากรูหูให้ใหญ่ใส่ตุ้มหูสอดแบบหญิงชาวพม่าเหมือนกันหมดตั้งแต่รุ่นสาวขึ้นไปถึงแก่ วัดวาอารามทั้งสร้างเก่าใหม่ก็ให้นำรูปหงส์ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของกรุงอังวะ และผู้คนส่วนหนึ่งที่มาอยู่บนท่าเดื่อ และผู้คนส่วนหนึ่งมุ่งมาสู่บ้านท่าเดื่อแห่งนี้พร้อมกับสร้างกุฏิหลังน้อย (คงจะเป็นการก่อสร้างที่ใช้ไม้ที่มีอยู่ตามละแวกนั้น) เพื่อถวายและมอบให้พี่น้องชาวบ้านท่าเดื่อ ได้บำเพ็ญกุศลด้วยสถานะที่อันพอจะเรียกได้เต็มปากว่า ?เป็นวัด?
(ด้วยมีพระประธานองค์ใหญ่ที่ผู้ใจบุญกลุ่มนั้นออกทุนปั้นให้พร้อมกับสร้างอุโบสถ์มุงหลังคาคุมแดดคุมฝนได้ดีกว่าแต่ก่อนๆ มา) และเรียกว่า ?วัดท่าเดื่อ? นับแต่นั้นมา ประวัติก่อนที่เป็น ?วัดแม่ฮ้อยเงิน? นั้นในหมู่บ้านมีแม่น้ำไหลผ่านสองสาย คือสายหน้าวัด และหลังวัด ตรงกลางเป็นที่เนินสูงสร้างเป็นวัดท่าเดื่อ มีเรื่องเล่าว่ามีพระยาเมืองได้เลี้ยงช้างและปล่อยช้างออกกินมาเรื่อยๆ จนไปกินพืชผลของชาวบ้านๆ ก็พากันล้อมจับช้าง แล้วเรียกร้องค่าเสียหาเป็นเงิน พระยาเมืองก็ได้เอา ?เงินฮ้อย? จ่ายเป็นค่าเสียหาย ตั้งแต่นั้นมาก็เรียกว่าแม่ฮ้อยเงิน (วัดแม่ฮ้อยเงิน) เป็นต้นมา และสืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน